Nursultan เมืองแห่งอนาคต….

เมื่อพูดถึง คาซัคสถาน(Kazakhstan) เราหลายๆ คนคงนึกไม่ออกว่าประเทศนี้อยู่ส่วนไหนของโลก ถ้าให้เดาจากชื่อน่าจะเป็นประเทศตะวันออกกลางแดดจ้า สภาพเก่าแก่น่ากลัวเป็นแน่

แต่แท้จริงแล้วประเทศอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียตที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งนี้ กลับมีเสน่ห์ชวนค้นหาแบบที่คุณอาจยังนึกไม่ถึง ทั้งผู้คนที่เป็นมิตร ธรรมชาติที่สวยงาม อาหารการกินที่น่าสนใจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จนเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชียกลาง แต่สิ่งที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่ได้พบเห็นมากที่สุด คงจะหนีไม่พ้นเมืองหลวงที่ใหญ่โตโออ่ามาพร้อมอาคารที่ยิ่งใหญ่สวยงามทันสมัย


เนื่องจากคาซัคสถานตั้งอยู่บริเวณรอยต่อทวีปยุโรปและเอเชีย ทำให้เกิดคำกล่าวโบราณว่า “ทิศตะวันตกอยู่ทางตะวันตก ทิศตะวันออกอยู่ทางตะวันออก และจะไม่มีวันอยู่ด้วยกันได้”

แต่ประธานาธิบดีนูร์ซุลตัน นาซาร์บาเยฟ (Nursultan Nazarbayev) ประธานาธิบดีคนแรกของคาซัคสถานไม่ได้คิดเช่นนั้น

เพราะนอกจากประเทศแห่งนี้จะเป็นรอยต่อของทวีปแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมในอดีต มีประชากรที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติ ตั้งแต่คาซัค รัสเซีย ยูเครน เยอรมัน อุซเบก ตาตาร์ ไปจนถึงเกาหลี

เขาจึงเห็นความสำคัญของการผสมผสานความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน


นาซาร์บาเยฟได้ย้ายเมืองหลวงจากอัลมาตีที่มีข้อจำกัดในการพัฒนา มายังอักโมลาในปี 1997 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอัสตานา (และพึ่งเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น นูร์-ซุลตัน ในปี 2019 นี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟนั่นเอง) สร้างให้เป็นเมืองที่มีแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่มีมุมมองของทั้งยุโรปและเอเชียร่วมกัน

โดยให้สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น คิโชะ คุโระกะวะ (Kisho Kurokawa) เป็นผู้วางผังเมืองที่ทันสมัยและมีกลิ่นอายความเป็นตะวันออก เรียงรายด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงามตามแบบยูเรเชีย ผสมผสานกับอาคารที่มีเอกลักษณ์ของ นอร์แมน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) สถาปนิกชื่อดังชาวอังกฤษ

เพื่อให้เมืองนี้มีความโดดเด่น สง่างาม สาธารณูปโภคที่ครบครัน และสามารถพัฒนาสู่การเป็นเมืองทรงอิธิพลของโลก โดยมีเป้าหมายที่จะเทียบเคียงกับโตเกียว นิวยอร์ก และดูไบ ได้ในอนาคต


จากการพัฒนาอันก้าวกระโดดและรวมความแตกต่างไว้ได้อย่างลงตัว ทำให้นูร์-ซุลตัน เมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของคาซัคสถาน แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น “Another Wonder of The World” สิงมหัสจรรย์แห่งตะวันออกกลาง และได้รับรางวัล “City of Peace” เมืองแห่งสันติภาพ จาก UNESCO

เราจึงอยากเชิญชวนท่านไปสัมผัสสถาปัตยกรรมอันหลากหลายที่มีทั้งความล้ำหน้า และประวัติศาสตร์อันทรงเสนห์ของประเทศคาซัคสถาน ในเมืองนี้….

….นูร์-ซุลตัน เมืองแห่งอนาคต


ศูนย์รวมความบันเทิงครบวงจรข่านชาตึยร์ (Khan-Shatyr Entertainment Center) 

ข่านชาตึยร์ตามความหมายในภาษาคาซัคหมายถึง “เต็นท์ของข่าน” เป็นโครงการระดับชาติอีกโครงการที่ออกแบบโดย นอร์แมน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) สถาปนิกชื่อดังแห่งอังกฤษ

รูปทรงของอาคารเต็นท์โปร่งใสสูง 150 เมตร ช่วยให้พื้นที่ภายในที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 10 สนามฟุตบอล มีอุณหภูมิที่รู้สึกสบายไม่ว่าภายนอกจะมีสภาพอากาศเป็นเช่นไร

ภายในพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยสวนสาธารณะพร้อมลู่วิ่งยาว 450 เมตร แหล่งช้อปปิ้งและการพักผ่อนที่หลากหลาย รวมถึงร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิงที่สามารถรองรับกิจกรรมและนิทรรศการต่าง


หอคอยเบย์เทเรค (Bayterek Tower)

อาคารทรงกระบอกที่มียอดเป็นวัตถุทรงกลมสีทองขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 22 เมตร สร้างขึ้นและตั้งชื่อตามต้น“Bayterek” ต้นไม้แห่งชีวิตในตํานานพื้นบ้านซึ่งบอกเล่าเรื่องราว ของ“Samruk” นกศักดิ์สิทธิ์ที่ทํารังและวางไข่ทองคําอันเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ ความสุข และการเกิดใหม่

ความสูงจากพื้นของอาคาร 97 เมตร สื่อถึงปี ค.ศ.1997 ซึ่งเป็นปีที่กรุงอัสตานากลายเป็นเมืองหลวง

ภายในอาคาร ประกอบด้วยแกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ํา ร้านอาหาร จุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทั้งเมืองได้ 360 องศา ด้วยความ โดดเด่นทางสถาปัตยกรรมและแรงบันดาลใจในการออกแบบทําให้อาคารนี้ไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอัสตานา และประเทศคาซัคสถานแต่ยังถูกพิจารณาเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ของประเทศอีกด้วย


วังแห่งสันติภาพและความปรองดอง (The Palace of Peace and Reconciliation)

อาคารกระจกทรงปิรามิด สูง 62 เมตรมีฐาน 62 x 62 เมตร ฝีมือการออกแบบของสถาปนิกชื่อดังแห่งอังกฤษ นอร์แมน ฟอสเตอร์ (Norman Foster)

สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการประชุมผู้นําด้าน ศาสนาโลก (Congress of Leaders of World and Traditional Religions) ประกอบด้วยส่วนอำนวยความสะดวกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ ได้แก่ ศาสนายิว, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาคริสต์, ศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดู, ลัทธิเต๋า และความเชื่ออื่น ๆ และใช้เพื่อเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการสร้างความเข้าใจทางศาสนา รณรงค์ลดความรุนแรง และการส่งเสริมความเท่าเทียมกันของมนุษย์

และเคยเป็นที่จัดเทศกาลภาพยนตร์แอคชั่นนานาชาติ อัสตานา (International Astana Action Film Festivals ) ในปีค.ศ. 2011 และค.ศ. 2013

นอกจากส่วนจัดงานแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ด้านวัฒนธรรม ศูนย์วิจัย โรงอุปรากรขนาด 1,500 ที่นั่ง ห้องจัดเลี้ยง แกลเลอรี่ หอสมุดและศูนย์ข้อมูลแหล่งค้นคว้าด้านมานุษยวิทยาและภูมิศาสตร์ของคาซัคสถานอีกด้ว


มัสยิดสุลตานฮัซเรต (Hazrat Sultan Mosque)

มัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย กลาง มียอดโดมที่ใหญ่ที่สุดในคาซัคสถานด้วยความสูง 51 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง 28.1 เมตร และมีโดมขนาด เล็ก 8 โดมล้อมรอบ

โดยชื่อของมัสยิดหมายถึง “สุลต่านศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นสมญานามของศาสนาจารย์มุสลิมนิกายซูฟี ชีคโคจา อาเม็ด ยาซาวี ผู้เป็นทั้งนักกวี นักปรัชญา และนักบวช ที่เป็นผู้มีชื่อเสียงในดินแดนเอเชียกลาง

อาคารขนาด มหึมานี้ต้องใช้แรงงานถึง 1,500 คนตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี อาคารมีพื้นที่กว่า 110,000 ตารางเมตร ตกแต่งด้วยหินอ่อนและลวดลายแบบคาซัค ประกอบด้วยห้องประกอบพิธีทางศาสนาต่างๆ หลายห้อง

นับเป็นมัสยิดที่งดงามอีกแห่งหนึ่งของคาซัคสถานและเอเชียกลาง


ศาลานูร์ อเล็ม (Nur Alem Pavillion)

สถานที่ท่องเที่ยวสําคัญอันเป็นมรดกตกทอดจากงาน Expo เมื่อปี 2017 ที่ประเทศคาซัคสถานได้รับเลือกจาก องค์การนิทรรศการนานาชาติ (BIE) ให้เป็นเจ้าภาพจัดงานนิทรรศการระดับโลก International Recognized Exhibition Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา ในระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 10 กันยายน 2017 ระยะเวลาสามเดือน ภายใต้ธีม “พลังงานแห่งอนาคต”

อัสตามได้สร้างทุ่มทุนสร้างอาคารต่างๆ ขึ้นมาบนพื้นที่กว่าหนึ่งพันไร่ โดยนับเฉพาะเนื้อที่จัดแสดงนิทรรศการกว่า 150 ไร่ และมีประเทศเข้าร่วมงานกว่า 100 ประเทศ

อาคารทรงกลม 8 ชั้นแห่งนี้ใช้งบประมาณในการสร้างกว่าสองหมื่นล้านบาท มีพิพิธภัณฑ์ด้านพลังงานแห่งอนาคต ที่ทุกวันนี้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงอัสตานา

ในบริเวณเดียวกัน ก็ยังมี “เมกะ ซิลค์เวย์” (Mega Silk Way) ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่สุดในคาซัคสถาน ที่เปิดมาเพื่อรองรับแขกจากทั่วโลกเมื่อคราวมีงาน Expo ด้วย


ทําเนียบประธานาธิบดีคาซัคสถาน (Palace of the President of Kazakhstan) หรือ Ak Orda Presidential Palace

สถานที่พํานักของประธานาธิบดีเช่นเดียวกับทําเนียบขาวของ สหรัฐอเมริกา เป็นอาคารสี่ชั้นขนาดใหญ่ โดยทุกห้องมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป อาทิ ชั้นหนึ่งเป็นห้อง แถลงข่าว ห้องกาล่า ชั้นสองเป็นห้องทํางานของเจ้าหน้าที่ ชั้นสามเป็นที่จัดงานระดับนานาชาติ เช่น ห้องหินอ่อน ใช้ เพื่อการลงนามระหว่างผู้นํา ห้องรูปไข่สําหรับการประชุมสุดยอดผู้นํา และชั้นสี่เป็นที่ตั้งของห้องประชุมของรัฐบาล ฯลฯ

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จะมีการประดับประดาดอกไม้ในบริเวณพื่นที่ด้านหน้าของทำเนียบด้วย


พิพิธภัณฑ์แห่งชาติคาซัคสถาน (The National museum of the Republic of Kazakhstan)

เป็นพิพิธภัณฑ์น้องใหม่ เพิ่งเปิดไปเมื่อปี 2014

ภายในแบ่งห้องจัดแสดงเป็น 7 ห้องใหญ่ ไล่ตั้งแต่ห้องประวัติศาสตร์บรรพชนและยุคกลาง ห้องประวัติศาสตร์ ห้อง ชาติพันธุ์ ห้องเอกราชแห่งคาซัคสถาน ห้องอัสตานา ห้องแห่งทอง ห้องศิลปะยุคใหญ่ จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติศาสตร์ของคาซัคสถานอย่างครบถ้วน

การมาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อนจะสำรวจประเทศคาซัคสถาน ก็จะทำให้เราเข้าใจความเป็นมาเป็นไปของผู้คน สถานที่ วัฒนธรรมต่าง ของชาวคาซัคได้เป็นอย่างดี


 

วันที่

26-04-2019

หมวดหมู่

, ,

เรื่องโดย

@worldexplorer